วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553

ช่องทางการสื่อสารข้อมูล


ช่องทางการสื่อสารข้อมูล

ระบบแบบเดินสายเคเบิล (Wired system)


จะรวมถึงสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด ระบบเครือข่ายที่อุปกรณ์ต่างๆ อยู่ห่างกันไม่มากนัก สายสัญญาณที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จะมีชนิดต่าง ๆตามลักษณะเครือข่าย และความต้องการในการใช้งา

  • สายคู่บิดเกลียวแบบมีชีลด์และไม่มีชีลด์ (Shielded and UnShielded Twisted-Pair Cable)เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้มจำนวน 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว สายเกลียวคู่หนึ่งจะแทนช่องทางการสื่อสาร (Channel) ได้หนึ่งช่องทาง

แบบมีชีลด์ แบบไม่มีชีลด์



สายคู่บิดเกลียวตามมาตรฐาน EIA/ITA-568 สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท คือ

  1. Category 1 เป็นสาย UTP ที่ใช้ในระบบสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เมหาะสำหรัส่งสัญญาณเสียงไม่เหมาะกับการส่งข้อมูล
  2. Category 2 เป็นสาย UTP ซึ่งเหมาะสำหรับกับการส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 4 เมกะบิตต่อวินาที
  3. Category 3 เป็นสาย ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 10 เมกะบิตต่อวินาที มีการใช้งานมากในระบบ Token ring แบบ 4 Mbits/sec และ 10Base-T
  4. Category 4 เป็นสายซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 16 เมกะบิตต่อวินาที มีใช้ในระบบ Token ring แบบ 16 Mbits/sec
  5. Category 5 เป็นสายที่เหมาะสมกับการส่งข้อมูงได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาทที มีใช้ในระบบเครือข่ายความเร็วสูงรุ่นใหม่ ๆ เช่น Fast Ethernet และ ATM (Asynchronous Transfer Mode)

  • สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)มันเรียกสั้น ๆ ว่า สายโคแอก จะเป็นสายสื่อสารที่สามรถส่งข้อมูลไกลกว่าสายแบบคู่บิดเกลียว แต่มีข้อเสียคือราคาสูงกว่า ลักษณะของสายโคแอกจะประกอบด้วยส่วนของสายส่งข้อมูลที่เป็นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนอยู่ตรงกลาง จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำเพื่อเป็นสายกราวนด์จากนั้นจึงหุ้มด้วยฉนวนเป็นเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง สารโคแอกจะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งแบบเบสแบตด์และบรอดแบรนด์ พบการใช้งานได้มากจากสายเคเบิลทีวี ในปัจจุบันการใช้งานสายโคแอกกับระบบคอมพิวเตอร์เริ่มลดลง เนื่องจากการพัฒนาของสายคู่บิดเกลียวที่ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้นเรื่อย ๆ



  • สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)ประกอบด้วยใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลางของสาย และใช้ใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเป็น ตัวหุ้ม (cladding) และหุ้มด้วยฉนวนในชั้นนอกสุด ข้อเสียคือติดตั้งและบำรุงรักษายาก มีราคาแพงที่สุดในจำนวนสายสัญญาณที่กล่าวมา



ระบบไมโครเวฟ (Microwave Signals หรือ Radio Signals)


เป็นช่องทางการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง (High Speed Wireless) ส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟหรือสัญญาณวิทยุ โดยสัญญาณจะวิ่งเป็นเส้นตรง จึงต้องมีสถานีรับ-ส่งเป็นระยะๆ จากจุดส่งถึงจุดรับ สถานีขยายสัญญาณจึงมักตั้งอยู่บนที่สูงเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางขณะส่งสัญญาณไปในอากาศ



ระบบดาวเทียม (Satellite systems)


ระบบดาวเทียมจะคล้ายกับระบบไมโครเวฟในส่วนของการใช้หลักการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานี ต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ แต่ในที่นี้จะใช้ดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก 36000 กม. เป็นสถานีในการยิงสัญญาณไปยังจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งจากการที่ดาวเทียมลอยอยู่สูงมากนี่เองทำให้สามารถใช้ดาวเทียมซึ่งลอยอยู่ในพิกัดที่แน่นอนเพียง 3 ดวง ก็ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดในโลกได้ โดยสถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นที่ของตนเอง เรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-link) และดาวเทียมจะทำการตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายหางหากอยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมอยู่ ก็ทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีปลายทางทันที เรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down-link) หากสถานีปลายทางอยู่นอกขอบเขตสัญญาณ ดาวเทียมจงส่งต่อไปยังดาวเทียมดวงที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้นเพื่อส่งสัญญาณ Down-link ต่อไป


การสื่อสารระบบไมโครเวฟและดาวเทียม

ในปัจจบันการใช้สัญญาณผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในการส่งสัญญาณข้อมูล คอมพิวเตอร์ สัญญาณโทรทัศน์ รวมทั้งการใช้ในทางภูมิศาสตร์ ทางทหารต่าง ๆ อย่างมากมาย ข้อเสียที่สำคัญของระบบดาวเทียมคือถูกรบกวนได้จากสภาพอากาศ ฝนหรือพายุ รวามทั้งตำแหน่งโคจรของดวงอาทิตย์ด้วย นอกจากนี้ข้อเสียที่สำคัญอีกอย่างคือจะมี เวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ทำให้ผ่ายรับได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากแม้ว่าสัญญาณจะเดินทางด้วยความเร็วแสง แต่ระบะทางที่สัญญาณต้องวิ่งระหว่างดาวเทียมกับพื้นโลกถึง 2 รอบ (ขึ้น-ลง) คือ 70000 กม. ทำให้เกิดเวลาหน่วงขึ้น ซึ่งสำหรับบางงานอาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น